Image Icon

27

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้

นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้

นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ เลขที่ 9/6 ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จัดตั้งขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี(พลเอก เปรม ติณสูลานนท์)

ในปี 2527 และเริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2537 แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2541 มีพื้นที่นิคมฯ 2,261 ไร่ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 48 แห่ง

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ มีแผนงานและการดำเนินการตามมาตรฐานอาคารเขียวหรือเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และมีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย โดยดำเนินการตามหมวด 2,3,4,5 และ 6
  • โรงงานในนิคมฯ 1 แห่งได้รับรางวัลการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียว

                             

มิติเศรษฐกิจ 

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสา มารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และเกิดองค์ความรู้ที่สามารถจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้
    หรือสามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นได้ สามารถลด  ต้นทุนการผลิตได้ โดยบริษัทในนิคมฯ  มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์หาหลักฐานและได้รับอนุสิทธิบัตร, โครงการวิจัย ปรับปรุงกระบวนการผลิตถุงยางทำให้ได้ถุงยางขนาดบาง (30 – 40 ไมครอน), โครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางรถเหมือง

  มิติสิ่งแวดล้อม

  • นิคมฯ และโรงงานได้รับการขึ้นทะเบียนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และมีการดำเนินการตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนิคมฯ มีโครงการติดตั้ง Solar cell บริเวณระบบผลิตน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง ในพื้นที่ สนต. (บริเวณระบบผลิตน้ำประปาขนาด 30 กิโลวัตต์ และระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางขนาด 95 กิโลวัตต์) รวม 125 kW / บริษัท สยามมิชลิน จำกัด มีโครงการ Seal Flush Pump (30 kW), โครงการติดตั้ง VSD control for Blower Line3 (37 kW)

                                                         

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงาน มีความร่วมมือกันในการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเชิงนิเวศ (Eco-Community) และโรงเรียนเชิงนิเวศ (Eco-School) และเกิดเกิดชุมชนเชิงนิเวศ (Eco-Community) และ โรงเรียนเชิงนิเวศ (Eco-School) ในชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม คือชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง โรงเรียนวัดหูแร่

                             

มิติการบริหารจัดการ

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการสร้างเครือข่ายสีเขียว (Green Network) โดยสนับสนุนให้โซ่อุปทานขั้นที่ 1 ขององค์กร (1st Tier Supplier) ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ครบร้อยละ 100 ของจำนวนองค์กร (1st Tier Supplier)
  • นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

Image Icon
40
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมหนองแค

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมหนองแค

Image Icon
565
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

Image Icon
29
Image Icon
0
Banner Border