Image Icon

16

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

         นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ดำเนินการโดย บริษัทอุตสาหกรรมเอเชีย จำกัด ร่วมดำเนินการกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 99/99 ถนนผังเมือง เฉพาะ 3-1 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ 3,220.25 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 16 แห่ง

         นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion และระดับ Eco-Excellence ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจติดตามเพื่อรักษาระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-World Class

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ มีการดำเนินการตามหมวดการประเมินการออกแบบอาคารให้เป็นอาคารเขียว จำนวน 7 หมวด
  • บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด มีการดำเนินการตามหมวดการประเมินการออกแบบอาคารให้เป็นอาคารเขียว จำนวน 8 หมวด /บริษัท ชิน-เอทซุซิลิโคนส์(ประเทศไทย) จำกัด มีการดำเนินการตามหมวดการประเมินการออกแบบอาคารให้เป็นอาคารเขียว จำนวน 6 หมวด

มิติเศรษฐกิจ 

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และเกิดองค์ความรู้ที่สามารถจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้ หรือสามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นได้ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยบริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด มีโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ทาให้ค่า p-TA สูงขึ้นหลังจากออกจากไซโล (Reduction of PTA p-TA drift value at Product silos)

มิติสิ่งแวดล้อม

  • นิคมฯ และโรงงานได้รับการขึ้นทะเบียนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และมีการกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแสดงผลการดำเนินการ ในโครงการ ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในส่วนระบบส่องสว่างถนนเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมาย คือ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2564 สามารถลดการใช้ไฟฟ้า 200 kWh ต่อเดือน สามารถลดการปล่อย CO2 ลงได้ 1,664 kgCO2eq ต่อปี / บริษัท ชิ น-เอทซุ ซิลิโคนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการรับรอง CFO ในปี 2563 โดยในปี 2565 ดำเนินการทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งอยู่ระหว่างรอกำหนดการการทวนสอบ มีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก: ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในส่วนการผลิตภายในโรงงานและนำมาคำนวณปริมาณลดการปล่อย CO2 เป้าหมายปี 2564 : สามารถลดการปล่อย CO2 ลงได้ 15,874 kgCO2eq ต่อปี

มิติสังคม

  • นิคมอุตสาหกรรม มีการส่งเสริม Eco-School โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด โดยมีแผนการนำน้ำตาลจาก บจ.พูแรค ไปทำน้ำหมัก และทำน้ำยาทำความสะอาด
  • จัดกิจกรรมหมักชีวภาพและน้ำยาอเนกประสงค์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด (น้าหมักใช้เวลน้ำา 6 เดือน จึงจะนำมาทำน้ำยาอเนกประสงค์)
    1. นิคมอุตสาหกรรม สนับสนุน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรบ้านฉาง (ศพก.บ้านฉาง)
    2. โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด ได้รับรอง Eco-School แล้วเมื่อปี 2561

มิติการบริหารจัดการ

  • นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด มีการจัดทำ SD Report
    2. บริษัท ชิน-เอทซุซิลิโคนส์(ประเทศไทย) จำกัด มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

Image Icon
24
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมหนองแค

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมหนองแค

Image Icon
230
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

Image Icon
20
Image Icon
0
Banner Border