Image Icon

24

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

         นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2532 ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง พื้นที่ 9,845 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 64 แห่ง

         นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion และระดับ Eco-Excellence ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจติดตามเพื่อรักษาระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-World Class

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการจัดทำกิจกรรมตามแนวทางอาคารเขียว /กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน โดยติดตั้งระบบ Solar Roof Top
  • บริษัท ทาทา สตีล การผลิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) มีโครงการใช้พลังงานทดแทน (Solar Energy)
  • บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและประหยัดทรัพยากร มีโครงการ “Solar rooftop 2.176 MWp” และ 1 MWp
  • บริษัทในกลุ่ม GC โครงการติดตั้ง Gas Turbine Generator และ Heat Recovery Stream Generator เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าใน Utilities plant /โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในกระบวนการผลิตไอน้ำ มีการศึกษาการเพิ่มกำลังการผลิตไอน้ำโดยใช้ความร้อนจากกระบวนการผลิต ซึ่งมีความร้อนเหลือทิ้งปริมาณมากพอต่อการเพิ่มกำลังการผลิตไอน้ำ ทำให้ช่วยลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

มิติเศรษฐกิจ 

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และเกิดองค์ความรู้ที่สามารถจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้ หรือสามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นได้ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดย มีการแสดงผลโครงการด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงงานในกลุ่มเป้าหมายครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด /บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด /บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด /บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน)/บริษัท ทาทา สตีล การผลิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) /บริษัทในกลุ่ม GC

มิติสิ่งแวดล้อม

  • นิคมฯ และโรงงานได้รับการขึ้นทะเบียนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และมีการดำเนินการตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงาน มีความร่วมมือกันในการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเชิงนิเวศ (Eco-Community) และโรงเรียนเชิงนิเวศ (Eco-School) มีการจัดทำธนาคารขยะของชุมชนชากลูกหญ้า เพื่อเป็นการประกันชีวิตในกลุ่มสมาชิกและมีความร่วมมือกับโรงงานจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินการในปี 2565 ดังนี้
    1. เปิดรับสมาชิกในเขตชุมชนใกล้เคียง หรือผู้ที่มีความสนใจ
    2. สนพ. สนับสนุนสร้างโรงเรือน สำหรับเก็บและรองรับขยะรีไซเคิล
    3. สนพ.ดำเนินการจัดทำป้ายอาคารธนาคารขยะรีไซเคิล
    4. จัดทำใบสมัครสมาชิกธนาคารขยะรีไซเคิลและข้อตกลงความร่วมมือของสมาชิก ในส่วนของผู้ประกอบการ
    5. ส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล เพื่อทุนการศึกษาและสวัสดิการดูแลสุขภาพ
    6. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และถังดักไขมัน

มิติการบริหารจัดการ

  • นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานมีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development: SD Report)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมหนองแค

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมหนองแค

Image Icon
199
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

Image Icon
16
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

Image Icon
18
Image Icon
0
Banner Border