การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในประเทศไทยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยมีบทเรียนจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาให้ความสำคัญกับการประกอบกิจการที่สอดคล้องหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยที่สุด หรือไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเลย รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เห็นชอบร่วมกับมติคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ในหลักการข้อเสนอของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาทบทวนภารกิจของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยผนวกรวมข้อเสนอของเอกชนเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมมิติการพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และชุมชน และมีการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ดังนี้
- เพิ่มความชัดเจนในดัชนีชี้วัดความสำเร็จเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในมิติทางด้านเศรษฐกิจ การนำแนวทางประชารัฐและวิสาหกิจเพื่อสังคมมาปรับใช้ในการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรอบแนวคิดและความหมายของเมืออุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- การกำหนดมาตรการ สนับสนุนและผลักดันในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้แก่ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม การกำหนดที่ตั้งและการดูแลพื้นที่กันชนอุตสาหกรรม (Industrial buffer Zone) การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้น
ใหม่ การดำเนินการด้านบรรษัทภิบาลหรือความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และควรมีแผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน เช่น การไม่ทิ้งน้ำเสียออกนอกเขตอุตสาหกรรม (Zero Discharge)
- การจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบบทบาทและหน้าที่ขององค์กรอุตสาหกรรมเชิงนิเวศกับหน่วยงานที่มีอยู่ภายในกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภายนอกที่มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับประเภทขององค์กร
- การพิจารณาให้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment : LCA) เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การพิจารณาในตัวชี้วัดการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนในทุกมิติ
- การบูรณาการกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การปรับปรุงและพัฒนากลไกการบริหารจัดการความร่วมมือและการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ การบูรณาการและกำหนดแผนการทำงานที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม
2) ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งรายงานผลการพิจารณาดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมให้คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อพิจารณาความสอดคล้องและความเหมาะสมกับการปฏิรูปประเทศต่อไป และแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
- การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมดุล และยั่งยืน
- แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการและกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
- สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดความเสี่ยงของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาความขาดแคลนของทรัพยากรลงได้
- สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของประเทศจากกิจกรรมทางทะเลที่หลากหลายควบคู่ไปกับการดูแลฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมด ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทะเลที่ถูกต้องและเพียงพอ เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบและการสร้างขีดความสามารถของประชาชนในการรับมือและปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
- พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างยั่งยืน มีข้อกำหนด รูปแบบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ตามศักยภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดนเน้นการพัฒนา “เมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ”
- พัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นพัฒนาระบบจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นคง เพิ่มผลิตผลในเรื่องการจัดการและการใช้น้ำทุกภาคส่วน ดูแลภัยพิบัติจากน้ำทั้งระบบ พัฒนาความมั่นคงทางพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่คำนึกถึงการพัฒนาอย่างเหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด พัฒนาความมั่นคงการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นฐานการผลิตอาหารที่มั่นคง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
- ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ มุ่งส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของคนไทย พัฒนาเครื่องมือและกลไกเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตที่มีคุณภาพในอนาคต รวมทั้งจัดตั้งและพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้ง พัฒนา และดำเนินโครงการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
ขอบคุณสำหรับการแจ้งข้อผิดพลาด
ทางหน่วยงานจะรีบทำการแก้ไข และปรับปรุงเพื่อกาให้บริการที่ดีขึ้น