Image Icon

20

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล

         นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล ตั้งอยู่ในพื้นที่ 88  ถนนทางหลวง สาย 3191 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีพื้นที่รวม 1,732.90 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 แห่ง

         นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion เมื่อปี พ.ศ. 2559 ระดับ Eco-Excellence เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้ต่ออายุการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-World Class

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีแผนงานและการดำเนินการตาม มาตรฐานอาคารเขียวหรือเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และมีผลการดำเนินงานบรรลุ ตามเป้าหมาย
  • อาคารสำนักงานนิคมอาร์ไอแอล ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวจากกระทรวงพลังงาน(Thailand Energy Award 2018: Green Building) /บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงาน – ควบคุม ปี 2015 โดยครอบคลุมพื้นที่กระบวนการผลิตและอาคารภายในขอบเขตโรงงานทั้งหมด /บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (สาขา GC5) ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงาน – ควบคุม ปี 2013 โดยครอบคลุมพื้นที่กระบวนการผลิตและอาคารภายในขอบเขตโรงงานทั้งหมด

มิติเศรษฐกิจ 

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และเกิดองค์ความรู้ที่สามารถจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้ หรือสามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นได้ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดย นิคมฯมีโครงการวิจัยและพัฒนาการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางมาเปลี่ยนให้เป็นมูลไส้เดือนและได้จดเป็นอนุสิทธิบัตรเลขที่ 10718 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 58 ปัจจุบันโครงการยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในปี 64 โครงการไส้เดือนดินของนิคมฯ ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ยั่งยืน โดยเป็นโครงการความร่วมมือของ กนอ. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อค้นหาโอกาสในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือพัฒนาการรับวัตถุดิบต่อไป /บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (สาขา GC5) มีโครงการหุ่นยนต์เพื่อการวิเคราะห์สภาพวัสดุ, เทคโนโลยีวิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลเพื่อการประหยัดพลังงาน, เทคโนโลยีทำความสะอาดตะกรัน /บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด มีนวัตกรรมหอเผาไร้ควัน, นวัตกรรมสารเคลือบเพื่อการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม

มิติสิ่งแวดล้อม

  • นิคมฯ และโรงงานได้รับการขึ้นทะเบียนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และมีการดำเนินการตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนิคมฯ มี โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการขนส่งโดยการใช้รถไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมันดีเซล /บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด มีโครงการ Super Aerodynamic Cooling Fans Phases2

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงาน มีความร่วมมือกันในการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเชิงนิเวศ (Eco-Community) และโรงเรียนเชิงนิเวศ (Eco-School) และเกิดเกิดชุมชนเชิงนิเวศ (Eco-Community) และ โรงเรียนเชิงนิเวศ (Eco-School) ในชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม คือชุมชนเนินพยอมเป็นชุมชนที่มีความสำคัญต่อนิคมฯอาร์ไอแอล มีประชากรประมาณ 1,300 ครัวเรือน อยู่ประชิดรั้วนิคมฯ อยู่ในทิศทางท้ายลมในบางช่วงเวลา และทางเข้าออกของนิคมฯ ติดต่อกับพื้นที่ชุมชนเนินพยอม และสนับสนุน ส่งเสริมโรงเรียนบ้านมาบตาพุดเป็นโรงเรียนเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่อง

มิติการบริหารจัดการ

  • โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีการสร้างเครือข่ายสีเขียว (Green Network) โดยสนับสนุนให้โซ่อุปทานขั้นที่ 1 ขององค์กร (1st Tier Supplier) ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 ครบร้อยละ 100 ของจำนวนองค์กร (1st Tier Supplier) โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (สาขา GC5) มีการจัดซื้อจัดจ้างบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าและบริการทั่วไป โดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิต /บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด มีนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • นิคมอุตสาหกรรมมีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development: SD Report)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

Image Icon
24
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมหนองแค

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมหนองแค

Image Icon
230
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

Image Icon
16
Image Icon
0
Banner Border