Image Icon

302

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี

         นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ที่ตั้งเลขที่ 700/2 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตร ที่ 57 ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พื้นที่นิคมฯ ทั้งหมด 22,338.32 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 608 แห่ง  

         นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เริ่มเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยเริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจติดตามเพื่อรักษาระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯมีการตั้งค่าเป้าหมายไว้ ดังนี้
    1. จำนวนการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจากระบบขนส่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เป็นศูนย์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 ผลการดำเนินงาน >> เดือนตุลาคม 64 – กรกฎาคม 65 สถิติการเกิดเป็นศูนย์
    2. โรงงานมีแผนและการดำเนินกิจกรรมลดการเกิดอุบัติเหตุจากระบบขนส่งเป็นศูนย์ ภายในโรงงาน (อย่างน้อยต้องมีมากกว่า 25 โรงงานตามเกณฑ์เป้าหมายที่มีแผนงานโครงการ) ผลการดำเนินงาน >> โรงงานตามเกณฑ์เป้าหมายฯ ที่มีแผนจำนวน 25 โรงงาน

มิติเศรษฐกิจ

  • นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานมีการส่งเสริมชุมชนดังนี้
    1. โครงการที่ 1 Eco School โรงเรียนวัดบ้านเก่า ขยายผลไปโรงเรียนเทศบาลดอนหัวฬ่อ 1 (บ้านมาบสามเกลียว) โรงเรียนวัดบ้านงิ้ว และโรงเรียนพานทอง นักเรียนสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากว่านหางจระเข้ ได้ 5 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ SDM&SKD เข้าไปช่วยพัฒนาและสอน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สบู่เหลวว่านหางจระเข้ สบู่โฟมล้างมือสูตรว่านหางจระเข้ และโลชั่นทาผิวว่านหางจระเข้ และนักเรียนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากว่านหางจระเข้ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สบู่กรีเซอรีนว่านหางจระเข้ และน้ำยาล้างจานว่านหางจระเข้ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ 88,000 บาท (คิดเป็นรายได้ 440 บาทต่อครัวเรือน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
    2. โครงการที่ 2 Farm to Factory โดยการจัดกิจกรรมครัวโรงงาน และตลาดนัดโรงงาน และแสดงรายได้ไว้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561- ก.ค. 2565
    3. โครงการที่ 3 สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนซอสพริก MP ต.มาบโป่ง อ.พานทอง จ.ชลบุรี จนได้รับ อย. เลขที่ 20-2-00764-6-0001 เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 64 แสดงรายได้ของการขายซอสพริก ม.ค.-มี.ค. 65
    4. โครงการที่ 4 โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนคลองตำหรุ ผลิตภัณฑ์ชุมชน "เสื้อผ้าสำเร็จรูปหญิง" ซึ่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วเมื่อปี 2556 โดยนิคมฯ ได้ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านชมรม CSR อมตะซิตี้ ชลบุรี และงาน PR AMATA
    5. โครงการที่ 5 โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา โดยนิคมฯ ได้ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านชมรม CSR อมตะซิตี้ ชลบุรี และงาน PR AMATA
    6. โครงการที่ 6 วิสาหกิจชุมชนพัฒนาการอาชีพบ้านเก่าผลิตภัณฑ์ชุมชน :ผลิตภัณฑ์จากเส้นด้ายที่เหลือจากการผลิต โดย กนอ., Amata และ โรงงาน Interface Floor สนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ ด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง
    7. โครงการที่ 7 โครงการอมตะชวนช้อป (ช่วยชุมชน) โดยล่าสุดได้มีการจัดงาน "อมตะชวนช้อป ของดีเพื่อนบ้านอมตะ" ในวันที่ 2-3 ก.ค. 65
    8. โครงการที่ 8 โครงการ Amata Give First

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานที่มีข้อมูลการวางแผนและดำเนินการวิเคราะห์ ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ น้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่น ๆ จำนวน 51 โรงงาน
  • โครงการเปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF >> ผู้ประกอบการร้อยละ 85 ที่ใช้บริการการจัดการขยะของบริษัท มีความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการขยะของบริษัทว่าไม่มีการนำขยะออกไปจัดการอย่างผิดกฎหมาย
  • กระบวนการการดำเนินงานร่วมกัน (Symbiosis) ของโรงงานที่เป็นลูกค้า ของบริษัท ไดกิ อลูมิเนียม อินดัสทรี (ประเทศไทย) จำกัด ปริมาณกากอุตสาหกรรมของโรงงานในนิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ที่ส่งกลับให้ทาง 1,719 Ton/Year บริษัทสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ถึง 20.6 ล้านบาทต่อปี
  • การใช้การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : CE)

มิติสังคม

  • จัดการสัมมนาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2564 หัวข้อ มาตรฐาน CSR -DIW เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ผ่านโปรแกรม Microsoft Team
  • โรงงานที่ได้รับรองมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) หรือแสดงหลักฐานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000: Social Responsibility) จำนวน 33 โรงงาน และมีผลการวัดระดับพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯ มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 14 แห่ง และมีโรงงานที่ได้รับการรับรอง ECO FACTORY จำนวน 11 แห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
240
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
66
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
193
Image Icon
1
Banner Border