Image Icon

114

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 (เดิมชื่อนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี) ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2532 พัฒนาพื้นที่โดย

บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมดำเนินการกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 331/8-9 หมู่ 6

ทางหลวงหมายเลข 331 กม. ที่ 91-92 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3,421 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 132 แห่ง  

โดยเริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2566

ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้การรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ มีพื้นที่สีเขียวของนิคมฯ และโรงงานภายในนิคมฯ ทั้งหมด 39 ไร่ คิดเป็น 17.79% โดยมีพื้นที่สีเขียวของนิคมฯ 355 ไร่ และพื้นที่สีเขียวของโรงงาน 248.39 ไร่ และพื้นที่สนับสนุนภายนอกโรงเรียนบ้านเขาหิน
  • นิคมฯ มีการจัดทำโครงการส่งเสริมการดำเนินงานขนส่งสีเขียว ลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโรงงานในนิคมฯ ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 ลดการใช้เชื้อเพลิงหรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 1,825.4 Ton CO2 e

มิติเศรษฐกิจ 

  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรเนินกระบก กลุ่มแม่บ้าน (ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 50-60 ปี) ร่วมกันผลิตกุนเชียงเพื่อจัดส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อ เช่น ตามโรงงานอุตสาหกรรม ตามแหล่งชุมชน และการประชุมในส่วนงานต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก และชุมชน เริ่มรวมกลุ่มกันตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 26 คน ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ และภาคเอกชนในการผลิตกุนเชียง ประกอบด้วย กุนเชียงหมู กุนเชียงไก่ และกุนเชียงปลา

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่นการศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ
  • นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และโรงงานในนิคมฯ มีอัตราการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณของเสียที่จะนำไปฝังกลบหรือเผาทำลายลดลง

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น โครงการร่วมกับโรงงานในนิคมฯ โดยมีจำนวนเลือดสำหรับการบริจาค 41,600 CC
  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) มีบริษัทที่ได้รับมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) จำนวน 3 แห่ง และมีบริษัทที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: Social Responsibility) 1 แห่ง

                                     

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ ผ่านทาง เว็บไซต์ / แผ่นพับ และมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 3 แห่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
39
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
142
Image Icon
1
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมผาแดง

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมผาแดง

Image Icon
137
Image Icon
3
Banner Border