การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 มีพื้นที่รวม 1,450 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 11 แห่ง
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5) เริ่มเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเมื่อปี พ.ศ.2561 โดยเริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ
และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion เมื่อปี พ.ศ. 2561 ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2566 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้การรับรอง
เป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence
การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี
มิติกายภาพ
- นิคมฯ มีพื้นที่สีเขียวของนิคมฯ 88 ไร่ และมีพื้นที่สีเขียวของโรงงานในนิคมฯ 15.7 ไร่
รวมพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 194.58 ไร่ คิดเป็น 12.64%
- นิคมฯ มีการจัดทำจัดอบรมความรู้ในด้าน Green Logistic ให้โรงงานในนิคมฯ ในหลักสูตร “Green Logistic and Supply Chain Management” วันที่ 28 เมษายน 2566
- จัดอบรมความรู้ร่วมกับ กนอ. สำนักงานใหญ่ ในหลักสูตร “การพัฒนาระบบขนส่งสีเขียว (Green Logistic)” วันที่ 12 มิถุนายน 2566
มิติเศรษฐกิจ
นิคมฯ และโรงงานดำเนินการสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตก้อนเชื้อเห็ดบ่อวิน หมู่ 6, วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสตรีรักษ์โลก (Eco Lady) โดยนิคมฯ ปิ่นทอง
(โครงการ 5) และผู้ประกอบการในนิคมฯ ร่วมสนับสนุนด้านการสั่งซื้อ และการประชาสัมพันธ์
มิติสิ่งแวดล้อม
- นิคมฯ และโรงงานโรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุน
การผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โครงการการนำเศษพลาสติกขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่, “การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพกลับมาผลิตซ้ำ” เป็นต้น
- นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และมีอัตราการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณของเสียที่จะนำไปฝังกลบหรือเผาทำลายลดลง
- จัดการอบรมสัมมนา “การจัดการกากอุตสาหกรรมและการจัดการโลจิสติกส์กับโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน” ให้ความรู้เรื่อง “การจัดการกากอุตสาหกรรมตามแนวทาง Industrial Symbiosis” และ “การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและระบบการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” และ จัดอบรมโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่ยั่งยืน
มิติสังคม
- นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น นิคมฯ ร่วมกับ โรงงานในนิคมฯ กลุ่มปิ่นทอง กำหนดค่าเป้า หมายโครงการบริจาคโลหิต โดยในปี งบประมาณ 2566 ได้รับจำนวนโลหิตสำหรับโครงการบริจาคโลหิต 200,000 CC
- นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW)
มิติบริหารจัดการ
- นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ ผ่านทางจัดประชุม EIA Monitoring เพื่อชี้แจงผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม/ Website www.pinthongindustrial.com/ Line @ Pinthong / Facebook page และนอกจากนี้ยังมี Display Board แสดงผลวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมเผยแพร่ต่อสาธารณชนและมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล