Image Icon

165

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด)

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด)

         นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) ได้จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 ที่ตั้ง 18 ถ.ปกรณ์สงเคราะห์ราษฎร์ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3,746.82 ไร่  ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 56 แห่ง  

         นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) เริ่มเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยเริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจติดตามเพื่อรักษาระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯมีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์สีเขียว ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้
    1. กิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยและลดอุบัติเหตุ
    2. กิจกรรมระบบขนส่งและโลจิสติกส์สีเขียวภายในนิคมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)

         เป้าหมาย: สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 50,000 KgCO2 ต่อเดือน และลดต้นทุนการขนส่งได้ 500,000 บาท/เดือน

         ผลการดำเนินการ: ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 151,710.34 KgCO2 eq/เดือน และลดค่าใช้จ่าย (ค่าน้ำมัน) ได้ 1,934,371.86 บาท/เดือน

มิติเศรษฐกิจ 

  • นิคมฯสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์มาบชลูดต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมในปี 2565 ดังนี้ โรงงานในนิคมฯ ร่วมส่งมอบกระดาษที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 7 แห่ง
    1. บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (คลออัลคาลี ดิวิชั่น)
    2. บริษัท จีซี-เอ็ม พีทีเอ จำกัด
    3. บริษัท อี-โคทติ้งส์ เอเชีย จำกัด
    4. บริษัท วนชัย เคมีคอล อินดัสทรี่ส์ จำกัด
    5. บริษัท เคแอลเจ ออร์แกนนิค (ประเทศไทย)
    6. บริษัท TPAC TPCC (ผาแดง)
    7. บริษัท โฟลว์เซิร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
    1. บริษัทจีซี-เอ็ม พีทีเอ จำกัด >> โครงการรับน้ำเสียจากบริษัท Thai PET Resin จำกัด มาบำบัดในระบบบำบัดของ GCMP โดยได้พลังงาน (Biogas) จากการบำบัดน้ำเสี
    2. บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด >> เพิ่มประสิทธิภาพควบคุมปริมาณสารของแข็งที่ละลายน้ำ
  • โรงงานในนิคมฯ ที่มีการดำเนินการร่วมกัน (Symbiosis)
    1. บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด โรงงานผลิตสารฟีนอล เอ และ โรงงานผลิตสารบิสฟีนอล นำน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นจากโรงงานผลิตสารบิสฟีนอล เอ
      เข้าสู่กระบวนการรีเวอร์สออสโมซิส
    2. บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จากัด (มหาชน) นำน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดจากระบบบัดส่วนกลาง เข้าสู่กระบวนการรีเวอร์สออสโมซิส จากนั้นเข้าระบบการทำงานด้วยการแลกเปลี่ยนประจุ

มิติสังคม

  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) มีบริษัทที่ได้รับรางวัล CSR-DIW จำนวน 4 แห่ง

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯ มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 1 แห่ง, Green Industry ระดับ 5 จำนวน 1 แห่ง และมีโรงงานที่ได้รับการรับรอง ECO FACTORY 1 แห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
253
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
71
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
204
Image Icon
1
Banner Border