Image Icon

124

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)

นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)

         นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2552 ที่ตั้ง ตำบลหนองขาม ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พื้นที่นิคมฯ ทั้งหมด 1,561.833 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 61 แห่ง 

         นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion เมื่อปี พ.ศ. 2561 ปัจจุบันปี พ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้ต่ออายุการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ ดำเนินการบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนกลางของ
    นิคมฯ และร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยมีพื้นที่สีเขียวรวมทั้งหมดประมาณ 342.036 ไร่ คิดเป็น 21.85%
  • นิคมฯจัดอบรมร่วมกับ กนอ. สำนักงานใหญ่ ในหลักสูตร “การบริหารจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics)” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ในแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 โรงงานในนิคมฯ มีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์สีเขียว และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้น้ำมันดีเซลได้ทั้งหมด 244,208.40 kgCO2 eq/ปี

มิติเศรษฐกิจ 

  • นิคมฯ จัดทำแผนพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสตรีรักษ์โลก (Eco Lady) เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของสตรีอาสาพัฒนาเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ในการจัดทำผลิตภัณฑ์รองเท้าแตะสินค้ารีไซเคิลและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม กระเป๋า ตุ๊กตา รองเท้างานถักมือต่าง ๆ (HAND MADE) ที่ถักจากเส้นด้ายที่เหลือใช้จากวัสดุอุตสาหกรรมนำมารีไซเคิล โดยนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) สนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ และวัตถุดิบ

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่นการศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ
  • นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และโรงงานในนิคมฯ มีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ หรือมีการแลกเปลี่ยนระหว่างโรงงานกับภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดการอบรมสัมมนา “การจัดการกากอุตสาหกรรมและการจัดการโลจิสติกส์กับโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน” ให้ความรู้เรื่อง “การจัดการกากอุตสาหกรรมตามแนวทาง Industrial Symbiosis” และ “การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและระบบการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” และ จัดอบรมโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่ยั่งยืน

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น โครงการบริจาคโลหิตไม่น้อยกว่า 100,000 ซีซี
  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) และนิคมฯ มีแผนการสนับสนุนให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมได้รับการรับรอง CSR-DIW หรือ รักษาสถานภาพการรับรอง CSR-DIW

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่าน www.pinthongindustrial.com/ Line / Facebook / แผ่นประชาสัมพันธ์ /เว็บไซต์ข่าวท้องถิ่น และมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูลปี มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 1 แห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
240
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
66
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
193
Image Icon
1
Banner Border