Image Icon

1490

Image Icon

3

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง

นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง

         นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2549 ที่ตั้ง (มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง) เลขที่ 7 หมู่ที่ 3 ถนนสาย 331 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พื้นที่นิคมฯ ทั้งหมด 14,546.03 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 348 แห่ง 

         นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion เมื่อปี พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้ต่ออายุการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ ดำเนินการบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนกลางของนิคมฯ และร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยมีพื้นที่สีเขียวรวมทั้งหมดประมาณ 2,558.56 ไร่ คิดเป็น 17.59%
  • นิคมฯ มีโครงการส่งเสริมการดำเนินงานด้านระบบขนส่งและโลจิสติกส์สีเขียว

มิติเศรษฐกิจ 

  • นิคมฯ และโรงงานมีแผนและเป้าหมายในการสนับสนุนกลุ่มอาชีพประมงอ่างเก็บนำดอกกราย ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อดำเนินการผลิตสินค้าของกลุ่มประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย ให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และมีรายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อน

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่นการศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ
  • นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และโรงงานในนิคมฯ มีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ มีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ระหว่างโรงงานกับภาคส่วนอื่น ๆ มีอัตราการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ตามหลัก 3R เพิ่มขึ้นจากปีก่อน และมีอัตราการนำของเสียไปฝังกลบลดลงจากปีก่อน

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น กิจกรรมบริจาคโลหิต เป้าหมาย 50,000 ซีซี ได้ปริมาณเลือด 70,500 ซีซี / กิจกรรมปลูกต้นไม้ 1,500 ต้น / กิจกรรมโครงการร่วมมือเพิ่มพื้นที่สีเขียวและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำโดยรอบนิคมฯ ปลูกต้นไม้จำนวน 2,000 ต้น
  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) และมีบริษัทที่ได้รับรางวัล CSR-DIW 8 แห่ง และบริษัทที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: Social Responsibility) กว่า 19 แห่ง

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านวิทยุชุมชน/ Website/ กลุ่มไลน์/ Call Center /Facebook /นิตยาสาร@AMATAและมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูลปี มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 4 แห่ง , ECO FACTORY จำนวน 2 แห่ง และมีโรงงานที่สมัครเข้าร่วม ECO FACTORY จำนวน 3 แห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
90
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
31
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
137
Image Icon
1
Banner Border