Image Icon

746

Image Icon

5

นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร

นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร

         นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ที่ตั้ง เลขที่ 39/5 หมู่ที่ 2 ถ.พระราม 2 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พื้นที่นิคมฯ ทั้งหมด 1,763 ไร่ ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 99 แห่ง

         นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร เริ่มเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้การรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ มีพื้นที่สีเขียวภายในนิคมฯ 237.81 ไร่ พื้นที่สีเขียวป่าชายเลน 75 ไร่ รวมพื้นที่สีเขียว 312.81 ไร่ คิดเป็น 20.32%
  • นิคมฯ มีการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสร้างวินัยจราจร /งานซ่อมแซมถนนแอสฟัลติกคอนกรีต (Overlay) /การติดตามระบบตรวจสอบด้านความปลอดภัย CCTV จำนวน 65 ตัว /งานทาสีเส้นจราจรบริเวณถนนซอยต่าง ๆ
  • นิคมฯ จัดอบรมกิจกรรม Green logistic ให้โรงงานในนิคมฯ สมุทรสาคร

มิติเศรษฐกิจ

  • การส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนในท้องถิ่น(ชุมชนบ้านอ้อมโรงหีบ) กลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร อบต.บ้านเกาะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น ร่วมสนับสนุนจัดอบรมพัฒนาฝีมือ พร้อมทั้งอบรมพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
  • บริษัท เอกรัตน์อุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด และบริษัท แอตแลนติก มิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว /บริษัท เวเบอร์ มาร์คกิ้ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด สนับสนุนการจัดพิมพ์สลากสติ๊กเกอร์ และฉลากบรรจุภัณฑ์สินค้า /บริษัท ไพโอเนียร์อีลาสติค (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนยางยืดสำหรับกระเป๋า /บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนสีให้ บริษัท เวเบอร์ มาร์คกิ้ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่นการศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ
  • นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และโรงงานในนิคมฯ มีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ หรือมีการแลกเปลี่ยนระหว่างโรงงานกับภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดการอบรมสัมมนา “การจัดการกากอุตสาหกรรมและการจัดการโลจิสติกส์กับโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน” ให้ความรู้เรื่อง “การจัดการกากอุตสาหกรรมตามแนวทาง Industrial Symbiosis” และ “การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและระบบการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” และ จัดอบรมโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่ยั่งยืน

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น การส่งเสริมความรู้ให้แก่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม /โครงการบริจาคโลหิตให้แก่โรงพยาบาลศิริราช ไม่น้อยกว่า 20,000 ซีซี
  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) และมีบริษัทที่ได้รับรางวัล CSR-DIW 2 แห่ง และบริษัทที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: Social Responsibility) กว่า 3 แห่ง และมีผลการวัดระดับพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านรายงาน /Website /กลุ่มไลน์ /แผ่นพับ และมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล มีโรงงานที่ได้รับการรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 1 แห่ง และมีโรงงานที่สมัครเข้าร่วม ECO FACTORY จำนวน 1 แห่ง, ดำเนินการขอรับรอง Green Industry ระดับ 4 จำนวน 3 แห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
236
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
66
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
190
Image Icon
1
Banner Border