Image Icon

139

Image Icon

0

นิคมอุตสาหกรรมบางพลี

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมบางพลี

นิคมอุตสาหกรรมบางพลี

         นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2524 เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบางพลี บางบ่อ เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2525 และแล้วเสร็จในปี 2527 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,004 ไร่  ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 111 แห่ง 

         นิคมอุตสาหกรรมบางพลี เริ่มเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยเริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทยกระดับฯ และได้รับการรับรองนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Champion เมื่อปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2565 ได้เข้ารับการตรวจประเมินให้การรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence

การยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

         นิคมฯได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 และมีการจัดตั้ง คณะทำงาน Eco Team และคณะกรรมการ Eco committee/Eco Green Network เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้เป็นประจำทุกปี

มิติกายภาพ  

  • นิคมฯ มีพื้นที่สีเขียวของนิคมฯ และโรงงานภายในนิคมฯ ทั้งหมด 111.25 ไร่ คิดเป็น 11.08% โดยมีพื้นที่สีเขียวของนิคมฯ 80.55 ไร่ และพื้นที่สีเขียวของโรงงาน 30.70 ไร่
  • นิคมฯ มีการจัดทำโครงการ แผนงานด้านกรีนโลจิสติกส์ โดยมีการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสร้างวินัยจราจร /อบรมสัมมนาการจัดการโลจิสติกส์ การติดตามระบบตรวจสอบด้านความปลอดภัย CCTV /ติดตั้งไฟส่องสว่างถนน /ปรับปรุงถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต /ติดตั้งเส้นกั้นห้ามจอดบริเวณทางโค้ง/ทางแยก /ออกหนังสือแจ้งเรื่องการจัดระเบียบการจอดรถบริเวณทางโค้ง/ทางร่วมทางแยก

มิติเศรษฐกิจ 

  • กลุ่ม “วิสาหกิจกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนบางเสาธง” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 จากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ เช่น หอยแมลงภู่ดอง เมี่ยงคำ กุ้งจ่อม หอยแครงดอง เบเกอรี่ ฯลฯ โดยนิคมฯและโรงงานเข้าไปร่วมสนับสนุนในเรื่องของ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ /ความรู้การดูแลรักษาเครื่องจักร /การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

มิติสิ่งแวดล้อม

  • โรงงานในนิคมฯ มีผลการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่นการศึกษาแนวทางการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ของโรงงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ
  • นิคมฯ มีการบริหารจัดการข้อมูลการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และโรงงานในนิคมฯ มีอัตราการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณของเสียที่จะนำไปฝังกลบหรือเผาทำลายลดลง
  • จัดการอบรมสัมมนา “การจัดการกากอุตสาหกรรมและการจัดการโลจิสติกส์กับโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน” ให้ความรู้เรื่อง “การจัดการกากอุตสาหกรรมตามแนวทาง Industrial Symbiosis” และ “การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมและระบบการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” และ จัดอบรมโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่ยั่งยืน

มิติสังคม

  • นิคมฯ และโรงงานมีกิจกรรมตามแนวทางการเป็นที่ทำงานมีสุข (Happy Workplace) 8 ประการ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (การสานสัมพันธ์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของนิคมฯ เช่น โครงการ “ห่วงใย ใส่ใจ ห่างไกลโควิด-19"
  • นิคมฯมีนโยบายและมีการสนับสนุนส่งเสริมให้โรงงานในนิคมดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) และมีบริษัทที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: Social Responsibility) กว่า 6 แห่ง

มิติบริหารจัดการ

  • นิคมฯมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลนิคมฯ ผ่านทาง เว็บไซต์ /Page Facebook /ไลน์กลุ่ม  และมีการสำรวจระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1

Image Icon
256
Image Icon
0
Icon
11
06.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)

Image Icon
73
Image Icon
0
Icon
08
06.2566
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)

Image Icon
211
Image Icon
1
Banner Border