Image Icon

517

Image Icon

0

กรณีศึกษาการพัฒนา Eco ของไทย

กรณีศึกษาการพัฒนา Eco ของไทย

นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล ในเอสซีจีเคมิคอลส์

    นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล ดำเนินการพัฒนาโดยการสร้างสมดุลของระบบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ภายใต้หลักบรรษัทภิบาลควบคู่ไปกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน พนักงาน และภาครัฐ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน โดยมีมาตรการและโครงการในด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ใช้วัตถุดิบและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยมลพิษ ก๊าซเรือนกระจกและของเสียจากอุตสาหกรรม ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือมีการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการเกิดของเสีย รวมถึงมุ่งสร้างเครือข่ายสีเขียวตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Eco Supply Chain) ด้านเศรษฐกิจ อาทิ ส่งเสริมอาชีพและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน นอกจากนั้น ยังได้จัดตลาดนัดชุมชนที่เปิดโอกาสให้ชุมชนนำสินค้าชุมชนเข้ามาขายในโรงงาน ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ในครัวเรือนและชุมชน และยังมีโครงการศึกษาทดลองนำกากตะกอนจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำมาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดินทำให้เกิดการต่อยอกเป็นผลิตภัณฑ์สารปรับปรุงดินจากมูลและปัสสาวะไส้เดือนดิน (ใช้เป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช) และต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพให้กับชุมชน จนเกิดเป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการของเสียอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน และด้านสังคม ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการวัดสร้างสุข คนสร้างชาติ พุทธศาสน์สร้างใจ โดยมีแนวคิดที่จะให้วัดเป็นศูนย์กลางเผยแพร่องค์ความรู้หลัก 5ส. ไปยังคนในสังคม เพื่อจุดประกายความคิดให้คนไทยมีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา มารยาททางสังคม และมีความสามัคคีกันมากขึ้น และโครงการที่ให้ความสำคัญกับเยาวชน จึงให้การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านโครงการเฟรนด์คลับ เด็กดี  มัคคุเทศก์น้อย  และ อสม.น้อย เพื่อเพิ่มพลังความดีให้เยาวชน และเสริมความรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่ (วารสารเพื่อนเอสซีจีเคมิคอลส์, 2557)

    นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เป็นต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมานิคมอุตสาหกรรม ได้ผ่านการรับรองโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco-Champion ด้วยคะแนนสูงสุดติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (ปี 2557-2559) และได้เข้าร่วมเป็นนิคมอุตสาหกรรม นำร่องเพื่อยกระดับมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรม ไปสู่ระดับ Eco-Excellence และได้รับการรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมระดับ Eco-Excellence ในปี 2560 ถือเป็นนิคมอุตสาหกรรม แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยนิคมอุตสาหกรรม พร้อมตั้งเป้าสู่การยกระดับมาตรฐานสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco-World Class

เขตประกอบการอุตสาหกรรม บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็น “Eco Society” หรือการสร้างสังคมเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีการจัดตั้งคณะทำงานและคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของพื้นที่และขยายไปสู่พื้นที่ข้างเคียง รวมถึงการสร้างกลไกและช่องทางการสื่อสารเพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังชุมชนให้รับทราบสร้างความเชื่อมั่น และสามารถติดตามผลการดำเนินงานภายในเขตประกอบการได้อยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังเน้นการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อม และการทำแผน

     ฉุกเฉินของชุมชนเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดกับชุมชน พื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม บริษัdท IRPC จำกัด (มหาชน) มีการทำผังการไหลของของเสียเพื่อวางแผนการจัดการของเสียอุตสาหกรรม และยังส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการจัดการของเสียแก่ชุมชน

     บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มีการนำแนวคิดอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีการป้องกันสิ่งแวดล้อม โดย IRDP มีการพัฒนาโซนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Zone : EIZ) ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง บนพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ มีการดำเนินงานเพื่อสร้างความเสถียรของแหล่งพลังงาน มีระบบจัดการและบำบัดน้ำเสีย มีระบบป้องกันเหตุฉุกเฉินทั่วพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง มีการจัดการแหล่งน้ำที่มีปริมาณเพียงพอรองรับทั้งโครงการ มีระบบการควบคุมเหตุน้ำท่วม มีการสร้างสะพานลอยเชื่อมต่อโซนอุตสาหกรรมไออาร์พีซีและโซนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและการจราจรในพื้นที่ และมีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีไออาร์พีซี สถาบันการศึกษาบนพื้นที่ซึ่งร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงบนพื้นที่กว่า 200 ไร่

ภาพที่เกี่ยวข้อง
Banner Border